วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สถาปัตยกรรม(Architecture)














สถาปัตยกรรมไทย Thai Architecture
สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีมูลเหตุที่มาของการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง ตามสภาพทาง ภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนา พุทธมักจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีความเชื่อ ความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน สถาปัตยกรรมที่ มันนิยมนำมาเป็นข้อศึกษา มักเป็น สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร หรือ พระราชวัง เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทน มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และได้รับการสรรค์สร้างจากช่างฝีมือที่ เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาที่สำคัญควรแก่การศึกษา อีกประ การหนึ่งก็คือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน มีอายุยาวนาน ปรากฎเป็นอนุสรณ์ให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมไทย สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท
1. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิดคือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วย ใบจาก หญ้าคา หรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุง ด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือน ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคา ทรงจั่วเอียงลาดชัน

ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้อง พระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการ หรือกิจการอื่น ๆ



2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่ อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บ ระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยาม หรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูป เป็นที่ฝังศพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า

3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือ ของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย

4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์ พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดง ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระ พุทรูป ธรรมจักร ต้นโพธิ์ เป็นต้น


วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์




สุนทรียศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยความงาม ซึ่งครอบคลุมถึงความงาม ในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนความงามของกระบวนการสร้างผลงานนั้นๆ ด้วย

ประวัติส่วนตัว







ชื่อจริง :นัทธมน ธนกรชวฤทธิ์
ชื่อเล่น :ปุ้มปุ้ย (ปลากระป๋อง)
เกิดวันที่ :22 มิถุนายน 2513
สถานภาพ :โสด....ซะเมื่อไหร่
ประวัติครอบครัว:จากรูป(ขวา)สามี...1....คน บุตร....1...คน ผู้หญิงชื่อ น้อง LEMONน่ารักด้วย 2ขวบ5เดือน เห่อ ลูกนะค่ะเพราะแต่งงาน 10 ปีเพิ่งมีมาได้ 1 คน
ที่ทำงาน : สถานีอนามัยบ้านห้วยผักชี อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ตำแหน่ง :หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านห้วยผักชี
อายุราชการ:17 ปี
ปัจจุบัน:นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ชั้นปีที่ 4
ความรู้สึกของการเป็นนักศึกษา: ดีนะค่ะได้ป็นเด็กอีกครั้ง
สิ่งที่โปรดปราน: ช็อปปิ้ง
บ้านเกิด: นครปฐม

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร


สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวกจึงนับว่ามีประโยชน์หลายประการดังนี้
1.ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2.ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3.เสริมสร้างสประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4.ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5.ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อวิชาชีพพยาบาล



สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อวิชาชีพพยาบาล คือช่วยเติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์มากขึ้น ทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ไม่แข็งกระด้าง ซึ่งการทำงานพยาบาลในปัจจุบันนี้ต้องใช้ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติงาน ความอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี ใจเย็น ความนุ่มนวลของพยาบาลมีมาตั้งแต่สมัย
มิสฟอเรนท์ ไนติงเกล(ดังรูป)ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลในวงการพยาบาล ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการช่วยเหลือดูแลทหารที่เจ็บป่วยจากภัยสงคราม ที่ไม่มีผู้ดูแล ท่านเป็นผู้ที่มีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี โดยไม่นึกถึงความลำบากที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ความเอื้ออาทร และความเสียสละของท่านจึงสืบทอดมายังพยาบาลรุ่นหลัง ต่อๆกันมาแต่ในสังคมปัจจุบัน ความเครียด การเอาตัวรอดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้บางคนไม่มีสุนทรีในอารมณ์ อาจทำให้คนที่เป็นพยาบาลขาดความสมดุลย์
ดังนั้นวิชาสุนทรียศาสตร์เป็นความรู้ที่เติมเต็มที่ทำให้ความเป็นพยาบาลของเราสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ความงดงาม

ความงดงามอย่างไทยเป็นอย่างไร
เอกลักษณ์ของคนไทยเป็นที่หนึ่งในจักรวาล ไม่มีชาติไหนที่วัฒนธรรมเหมือนคนไทย เป็นเอกลักษณ์ของไทยซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยนี้